วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552

วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552

Salt

คนที่ชอบทานอาหารรสเค็มจัด คงต้องหักห้ามใจเหยาะเกลือลงในอาหารเมนูโปรดของคุณให้น้อยลง เพราะเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา สถาบันวิจัยทางการแพทย์ของอังกฤษได้รายงานว่า การลดการบริโภคเกลือโดยเฉลี่ย 6 - 9.5 กรัมต่อวัน จะช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจได้ 10 เปอร์เซ็นต์ และช่วยลดปัญหาหลอดเลือดอุดตันลงได้ถึง 13 เปอร์เซ็นต์ ผลการวิจัยดังกล่าวส่งผลให้รัฐบาลอังกฤษกระตือรือร้นที่จะวางแผนจำกัดมาตรฐานการบริโภคเกลือของคนอังกฤษในปี 2010 ให้ลดลงถึง 6 กรัมต่อวัน และหากรัฐบาลสามารถดำเนินการโครงการนี้ได้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ กลุ่มประเทศยุโรปและนานาประเทศก็มีแนวโน้มที่จะนำโครงการต้นแบบของอังกฤษไปใช้กับประเทศของตนเองในอนาคตอันใกล้ โซเดียมคลอไรด์ หรือ เกลือ ประกอบด้วยโซเดียม 40 เปอร์เซ็นต์ และคลอไรด์อีก 60 เปอร์เซ็นต์ ร่างกายของเราต้องการโซเดียม เพื่อช่วยรักษาความสมดุลในร่างกายให้ทำงานได้เป็นปกติ และทำหน้าที่เป็นเหมือนระบบประสานงานในร่างกายก็จริงอยู่ แต่ทว่าในแต่ละวัน เราอาจจะบริโภคเกลือมากเกินไปโดยที่ไม่รู้ตัว ทั้งที่จริงแล้วปริมาณเกลือเพียงเล็กน้อยก็เพียงพอสำหรับการทำงานของระบบร่างกาย การบริโภคเกลือในปริมาณมากเกินไปจึงเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดหัวใจ เมื่อร่างกายของคนเราได้รับเกลือปริมาณมาก ปริมาณโซเดียมที่มากเกินพอดีจะทำให้ร่างกายเก็บรักษาน้ำมากขึ้น ทำให้ปริมาณน้ำในหลอดเลือดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะความดันสูงในหลอดเลือด นอกจากนี้คุณเคยทราบไหมว่า 75 เปอร์เซ็นต์ของการบริโภคเกลือเกินความจำเป็นมีสาเหตุมาจากกระบวนการปรุงอาหาร ไม่ว่าจะเป็นอาหารตะวันตก (ที่เราคิดว่ารสชาติไม่เค็มจนเกินไป) อย่างเนื้อที่ผ่านกระบวนการหมักพร้อมปรุง ชีส ธัญพืช ขนมปัง และมันฝรั่งทอดกรอบสำเร็จรูป หรือแม้อาหารไทยที่มีน้ำปลาเป็นเครื่องปรุงรสสำคัญ ถึงจะเป็นงานวิจัยแบบเรื่องเก่าเล่าใหม่ แต่ก็ส่งผลดีและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคไม่น้อย เพราะทันทีที่ได้รับการเผยแพร่ รายงานการวิจัยฉบับนี้ก็ได้มีส่วนกระตุ้นให้อุตสาหกรรมอาหารลดปริมาณเกลือในขั้นตอนการผลิตของตนเองลง และยังทำให้ผู้บริโภคตระหนักถึงอันตรายจากการรับประทานอาหารรสเค็มกันมากขึ้น

วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2552

WoW





4 วิธีป้องกันการเป็น ‘ปลาทอง’

เสมอ ก่อนที่คุณจะมีความจำสั้นแค่ 3 วินาทีเหมือนปลาทอง มี 4 วิธีง่ายๆ ที่คุณทำได้เองตั้งแต่ตอนนี้มาฝาก

1. กินอาหารที่มีประโยชน์
สถาบันประสาทวิทยาแห่งสหรัฐฯ รายงานว่า การกินผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ส้ม ผักโขม แครอท บร็อค-โคลี มะเขือเทศ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดสโตรคถึง 11% แถมยังช่วยบำรุงให้เซลล์สมองสามารถทำงานเชื่อมโยงกันได้ดียิ่งขึ้น ในขณะที่วิตามินบีโดยเฉพาะ บี12 และกรดโฟลิกช่วยลดการเสี่ยงในการเป็นโรคความจำเสื่อมได้อีกด้วย

2. ออกกำลังกาย
เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับคนที่อยากมีสุขภาพดี การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ เช่น การวิ่ง การปั่นจักรยาน หรือบอดี้คอมแบต ช่วยให้ระบบไหลเวียนของเลือดทำงานดีขึ้น และช่วยกำจัดไขมันที่เกาะตามเส้นเลือด นั่นหมายความว่าเลือดจะสามารถนำออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงสมองได้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง การออกกำลังกายยังช่วยให้คุณนอนหลับสนิท ทำให้สมองได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ไม่ต้องถึงขนาดวิ่งวิบากก็ได้ครับ แม้แต่การรำมวยจีน โยคะ ก็ช่วยให้พัฒนาสมองได้อย่างยอดเยี่ยมเช่นกัน แต่อย่าลืมดื่มน้ำหลังการออกกำลังกายด้วย เพราะการขาดน้ำอาจทำให้สมองทำงานได้ไม่เต็มที่

3. ออกกำลังสมอง
ถ้าอยากให้ร่างกายแข็งแรงก็ต้องออกกำลังกาย เช่นเดียวกัน ถ้าอยากให้สมองแข็งแรงก็ต้องออกกำลังสมอง พูดง่ายๆ ก็คือ ใช้สมองนั่นแหละ มีหลายวิธีที่ทำให้สมองของคุณได้ใช้งาน เช่น การเล่นหมากรุก การอ่านหนังสือ การเล่นเกมอักษรไขว้ อย่ากลัวที่จะเรียนภาษาใหม่ๆ หรือเรียนดนตรีตอนอายุมากแล้ว เพราะนั่นเป็นการออกกำลังสมองอย่างดีเลยละครับ ต่อให้คุณมีระบบจดจำหมายเลขโทรศัพท์แล้ว ลองจำหมายเลขโทรศัพท์ของคนใกล้ชิดไว้ในสมองสิครับ หรือเวลารถติดก็ลองเอาเลขป้ายทะเบียนรถคันข้างหน้ามาบวกลบคูณหารกัน สมองมีไว้ใช้ ถ้าไม่ใช้ก็มีแต่จะเสียมันไปเท่านั้น

4. หลีกเลี่ยงการดื่มเหล้า
นึกถึงตอนที่คุณเมาจนจำไม่ได้ว่าเมื่อคืนคุณทำตัวน่าอายแค่ไหนนั่นแหละครับ แม้จะเป็นเพียงแก้วสองแก้ว แอลกอฮอล์ก็สามารถไปรบกวนการสร้างความจำระยะยาว (Long-term memories) ได้เหมือนกัน การวิจัยอีกหลายชิ้นก็ชี้ว่า ยิ่งดื่มแอลกอฮอล์มากเท่าไรก็ยิ่งเสี่ยงต่อการทำลายความจำมากขึ้น เห็นแบบนี้แล้วอย่าใช้มันเป็นข้ออ้างในการดื่มเพื่อลืมเธอเลยนะคุณ ใจก็เสียไปแล้ว อย่าให้สมองเสียไป

วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เชคอาการปวดท้อง


ปวดท้องด้านขวาตอนบน ความเจ็บปวดในบริเวณด้านขวาตอนบนของ ช่องท้อง มักเกิด จากโรคตับและถุงน้ำดี ปวดท้องบริเวณแอ่งกระเพาะอาหาร แอ่งกระเพาะอาหาร คือ บริเวณที่ อยู่ใต้ซี่โครงลงมา การเจ็บปวดบริเวณนี้มักเกิดจากการแสบกระเพาะอาหาร และอาการไม่ย่อย โรคกระเพาะและลำไส้อักเสบอาจเกิดขึ้นในบริเวณนี้ได้ เช่นเดียวกัน บางครั้งโรคต่างๆที่เกิดขึ้นที่ถุงน้ำดีก็อาจเกิดขึ้นในบริเวณ ส่วนท้องที่เป็นแอ่งได้ ปวดท้องส่วนกลาง ส่วนใหญ่มักเกิดจากสาเหตุมาจากโรคที่เกิดขึ้นที่ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้อาการปวดท้องที่บริเวณนี้อาจเกิดจากไส้ติ่งอักเสบ ซึ่งมักเริ่มขึ้นที่บริเวณนี้ก่อนเสมอ แล้วจึงเลื่อนมาเป็นส่วนล่าง ปวดท้องด้านซ้ายตอนบน อาจมีสาเหตุมาจากโรคต่างๆ ที่เกิดในลำไส้ใหญ่ เช่น โรคท้องผูกหรืออาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อลำไส้ใหญ่ แต่หากมีอาการ แสบกระเพาะอาหาร นั่นหมายถึงอาจเกิดจากกรดและอาการเจ็บปวด เนื่องจากแผลในกระเพาะ ปวดท้องด้านขวาตอนล่าง อาจเป็นอาการของไส้ติ่งอักเสบอย่างเฉียบพลัน อาการอักเสบของลำไส้ ปวดท้องด้านซ้ายตอนล่าง อาการปวดที่เป็นลักษณะปวดและคลายสลับกันพร้อมกับ อาการท้องร่วง หรือเกิดจาก อาการท้องผูก อาจเกิดจากโรคถุงตันที่ลำไส้ใหญ่อักเสบ (Diverticulitis)
ครั้งหน้าปวดท้อง อย่าลืมตรวจดูว่าอาการปวดท้องนั้นเกิดจากอะไร จะได้รักษาได้ถูกอาการ..

PoR

PoR

i like tinker bell

i like tinker bell