วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

พระราชวังพญาไท






พระราชวังพญาไท
ย้อนอดีตไปเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดซื้อที่สวนและนาบริเวณริมคลองสามเสนติดกับทุ่งพญาไท เป็นที่แปรพระราชฐาน เพื่อพักผ่อนพระอิริยาบทและทดลองปลูกธัญพืชต่าง ๆ โดยจัดให้สร้างพระตำหนักขึ้นเป็นที่ประทับ พระราชทานนามว่า "พระตำหนักพญาไท" ต่อมาเมื่อทรงโปรดที่จะเสด็จประพาสพระตำหนักแห่งนี้บ่อยครั้งขึ้นจึงได้พระราชทานนามใหม่เป็น "วังพญาไท" ล่วงมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงโปรดเสด็จมาประทับ ณ วังพญาไท แห่งนี้เป็นครั้งคราว ในกลางปีพุทธศักราช ๒๔๖๓ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักองค์น้อยขึ้นที่ริมคลองพญาไท เป็นเรือนไม้สักสองชั้น พระราชทานนามว่า "พระตำหนักเมขลารูจี" เมื่อได้ดำเนิกการก่อสร้างแล้วเสร็จ ได้มีพระราชพิธีเฉลิมพระที่นั่ง ในวันที่ ๑๖ - ๑๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๖๕ โดยโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "พระราชวังพญาไท" พระราชวังพญาไท เป็นสถาปัตยกรรมแบบยุโรป ประกอบด้วย มวลหมู่พระที่นั่งจำนวน ๕ องค์ ได้แก่่ พระที่นั่งไวกูณฐเทพสถาน, พระที่นั่งพิมานจักรี, พระที่นั่งศรีสุทธวาส, พระที่นั่งเทวราชสภารมย์, พระที่นั่งอุดมวราภรณ์ ในส่วนด้านหลังของมวลหมู่พระที่นั่ง เป็นสวนแบบสถาปัตยกรรมเรอเนาซองเรียกว่า "สวนโรมัน"
ที่พระราชวังพญาไทแห่งนี้เอง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมือง "ดุสิตธานี" เพื่อปูพื้นฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย แก่ประชาชนชาวสยาม ซึ่งได้ย้ายมาจากพระราชวังดุสิต มาก่อตั้งใหม่ให้กว้างขวางขึ้น ตั้งแต่เดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๖๒
ท้าวหิรัญพนาสูร เชื่อว่าเป็นอสูรผู้มีสัมมาทิษฐิ และสัมมาปฏิบัติเป็นชายรูปร่างล่ำสันใหญ่โต คอยติดตามป้องกันภยันตรายทั้งปวงให้กับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มิให้กล้ำกรายพระองค์และข้าราชบริพาร ปีพุทศักราช ๒๔๖๕ ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ช่างหล่อรูปท้าวหิรัญพนาสูรขนาดใหญ่ด้วยทองสัมฤทธิ์เป็นศาลเทพารักษ์ประจำพระราชวังพญาไท
ในปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีพระบรมราโชบายที่จะเปลี่ยนแปลงพระราชวังพญาไทเป็นโรงแรม เพื่อพระราชทานความสะดวกให้กับชาวต่างประเทศที่เข้ามาติดต่อค้าขายขณะที่จะเริ่มดำเนินการดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวรแล้วเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงอัครโยธิน ดำเนินการปรับปรุงเป็นโรงแรมชั้นหนึ่งนามว่า "โฮเต็ลพญาไท" ดำเนินการได้เพียง ๕ ปี จึงเลิกกิจการ ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๓ ได้เปลี่ยนเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียง โดยในพิธีเปิดซึ่งตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคล ได้มีการอัญเชิญกระแสพระราชดำรัสของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๗ ถ่ายทอดเข้าเครื่องส่งที่สถานีพญาไท นับเป็นครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดสดเสียงทางวิทยุในประเทศไทย
ครั้นถึงพุทธศักราช ๒๔๗๕ เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐบาลได้ย้ายสถานีวิทยุกลับไปที่ศาลาแดงและให้กองเสนารักษ์จังหวัดทหารบกกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นสถานพยาบาลกองทัพบกเข้ามาอยู่แทน และได้พัฒนาเป็นโรงพยาบาลทหารบกในเวลาต่อมา เนื่องจากสถานที่แห่งนี้ เคยเป็นพระราชวังของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ มาแต่เดิม และเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติกองทัพบกจึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาติเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า" นับตั้งแต่วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๕ เป็นต้นมา ปีพุทธศักราช ๒๕๑๒ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ได้ย้ายที่ทำการไปอยู่ ณ อาคารหลังใหม่ โดยกรมแพทย์ทหารบกได้เข้ามาตั้งกองบัญชาการอยู่แทน.

วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

พิพิธภัณฑ์ ตำหนักปลายเนิน




พิพิธภัณฑ์ ตำหนักปลายเนิน ตั้งอยู่บนถนนพระรามที่ 4 กรุงเทพฯ แต่เดิมเป็นพระตำหนักที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงใช้เป็นที่ประทับชั่วคราวในเบื้องแรก ปัจจุบันตำหนักปลายเนินนี้ได้ใช้เป็นสถานที่จัดงานวันนริศฯ โดยมูลนิธิสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ซึ่งจัดเป็นประจำในวันที่ 28 เมษายน ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันประสูติของสมเด็จฯ กรมพระนริศฯ และเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกเข้าชมได้ตามเวลา ราชการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย



ประวัติ

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงโปรดให้ซื้อเรือนไทยอย่างโบราณเพื่อสร้าง ก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2457 เป็นพระตำหนักเพราะมีพระประสงค์จะให้เสร็จโดยเร็วและไม่สิ้นเปลือง เนื่องจากทรงพระประชวรและมีพระดำริ จะมาประทับนอกเมืองเป็นครั้งคราว แต่ท่านมักจะประชวร เมื่อกลับไปประทับ ที่วังท่าพระ เนื่องจากพระองค์จะต้องทรงงาน ประจำที่วังท่าพระ ข้างพระบรมมหาราชวัง จนกระทั่งเข้าช่วงปลายของพระองค์ พระตำหนักนี้จึงเป็นที่ประทับโดยถาวรไป ส่วนวังท่าพระนั้น จะเสด็จไปประทับเฉพาะช่วงหน้าหนาว หรือช่วงที่มีงาน พระราชพิธีเท่านั้น สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงเสด็จประทับ อยู่ ณ วังที่คลองเตยจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ลงในปีพ.ศ. 2490 วังนี้จึงตก แก่ทายาทตระกูลจิตรพงศ์นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ผู้ครอบครอง คือ ม.จ. ดวงจิตร จิตรพงศ์
เมื่อแรกสร้างมุงหลังคาจากทุกหลัง บางหลังฝาทำด้วยแผงไม้ไผ่สานมีไม้ประกับเป็นกรอบค้ำเปิดขึ้นได้ทั้งฝา ต่อมาได้เปลี่ยนใช้กระเบื้องไม้สักมุงหลังคาแทน เพราะจากนั้นต้องเปลี่ยนใหม่ทุก 2 - 3 ปี ส่วนฝาเปลี่ยนเป็นฝาไม้มีหน้าต่างกว้าง เนื่องจากไม่สะดวกใน
ฤดูฝน ซึ่งยุคนั้นไม่มีใครเคยทำ
ปัจจุบันวังปลายเนินยังเป็นที่ประทับ และ อยู่อาศัยของคนในราชสกุลจิตรพงศ์อยู่ โดยมีอาคารอื่นอีก เช่น
ตำหนักตึก ซึ่งเป็นที่ประทับ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ เมือช่วงสุดท้ายของพระชนม์ชีพ
ตำหนักประสบัน เป็นเรือนไม้ยกพื้นสูงทรงยุโรปที่ประทับของ ม.จ.เจริญใจ จิตรพงศ์ ต่อมารื้อลงเป็นเรือน 2ชั้น 2 หลัง
เรือนไม้ริมบ่อ -ศาลาริมน้ำ สมัยที่ยังมีคลองหน้าวัง ปัจจุบันรื้อย้ายมาปลูกกลางสวนเป็นศาลาทรงไทย
ตำหนัก ม.จ.เพลารถ จิตรพงศ์
และ เรือนอื่นๆซึ่งทยอยสร้างขึ้นทีหลัง เช่น บ้านหม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์ เป็นต้น

[แก้] ลักษณะอาคาร
เป็นเรือนไทย 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นใต้ถุนสูงยกพื้นโล่ง มีโครงสรางเสาชั้นล่างเป็นเสาปูน ส่วนตัวเรือนเป็นเรือนไม้ทั้งหมด
หลังคาจั่วปีกนก มุงด้วยกระเบื้องดินเผา เป็นลักษณะของเรือนไทยประเพณีทั้งหลัง มีการวางผังต่างไปจากเรือนไทยโบราณทั่วไป คือยืนตามตะวันทุกหลัง และวางเหลื่อมเยื้องกันเพื่อรับลมและเลี่ยงการรับแดดแทนการวางเรือนล้อมรอบนอกชาน

วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

วงจรผีเสื้อ




_ผีเสื้อ

หัวข้อนี้สำหรับ ผีเสื้อ ที่เป็นแมลง, สำหรับไม้ดอกไม้ประดับ ดู ผีเสื้อ (พรรณไม้) ผีเสื้อ

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร
Animalia

ส่วน Rhopalocera

ไฟลัม
Arthropoda

ชั้น Insecta

อันดับ Lepidoptera

ข้อมูลทั่วไป

ตระกูล
ผีเสื้อ เป็นชื่อแมลงทุกชนิดในอันดับเลพิดอปเทรา (Lepidoptera) มีชื่อในทางวิสามัญวัฏจักรตั้งแต่ระยะบุ้ง ระยะดักแด้ ตราบจนระยะการเปลี่ยนสัณฐานเข้าสู่ระยะการโตเต็มวัยที่มีปีกหลากสีต้องตา ทำให้ผีเสื้อนิทัศน์การเป็นงานอดิเรกแขนงใหม่ในปัจจุบัน
เนื้อหา
• 1 ต้นกำเนิดและการกระจายพันธุ์
• 2 การจำแนก
o 2.1 การจำแนกแบบอนุกรมวิธานพืช
o 2.2 การจำแนกกลุ่มผีเสื้อกลางวันและกลุ่มผีเสื้อกลางคืน
• 3 จตุวัฏจักร
o 3.1 ระยะไข่
o 3.2 ระยะหนอน
o 3.3 ระยะดักแด้
o 3.4 ระยะเจริญวัย
• 4 แหล่งข้อมูลอื่น

ต้นกำเนิดและการกระจายพันธุ์
วิวัฒนาการของผีเสื้อ นักวิทยาศาสตร์คาดว่าผีเสื้ออาจมีต้นกำเนิดแต่ยุคครีเทเชียส (Cretaceous Period) ซึ่งยุติเมื่อกว่าหกสิบห้าล้านปีก่อน ทั้งนี้ เนื่องจากซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ในตระกูลผีเสื้อมีน้อยมาก จึงทำให้การคะเนเกี่ยวกับต้นกำเนิดผีเสื้อเป็นไปได้ไม่สะดวกนัก โดยซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ดังกล่าวที่มีอายุมากที่สุดคือซากนิรนามของสัตว์สคิปเพอร์ (Skipper, Thymelicus lineola) อายุราวสมัยพาเลโอซีน (Paleocence Epoch, ประมาณห้าสิบเจ็ดล้านปีก่อน) พบที่เมืองเฟอร์ (Fur) ราชอาณาจักรเดนมาร์ก และซากดึกดำบรรพ์ประเภทอำพันแห่งโดมินิกัน (Dominican amber) ของผีเสื้อเมทัลมาร์ก (Metalmark, Voltinia dramba) อายุยี่สิบห้าล้านปี
ปัจจุบันโดยปรกติวิสัยผีเสื้อกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิประเทศหนาวเย็นและแห้งแล้ง มีการประมาณว่าขณะนี้มีผีเสื้อในมหาวงศ์ (Superfamily) พาพิลิโอโนอิเดีย (Papilionoidea) กว่าหนึ่งหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยชนิด (species) และมหาวงศ์เลพิดอปเทรา (Lepidoptera) กว่าหนึ่งแสนแปดหมื่นชนิด
การจำแนก
ปัจจุบันมีการจำแนกผีเสื้อออกเป็นสามมหาวงศ์ (Superfamily) คือ

1. เฮดิโลอิเดีย (Hedyloidea)

2. เฮสเพอริโออิเดีย (Hesperioidea) และ

3. พาพิลิโอโนอิเดีย (Papilionoidea) และนอกจากนี้ยังมีการจำแนกซึ่งเป็นที่นิยมอยู่อีกสองแบบ ดังต่อไปนี้
การจำแนกแบบอนุกรมวิธานพืช
การศึกษาว่าด้วยโครงสร้างและโมเลกุลทางพฤกษศาสตร์และสัตวศาสตร์ตามอนุกรมวิธานพืช (Taxonomic) ได้มีกำหนดมหาวงศ์เพิ่มเติมนอกจากข้างต้น เช่น ดาเนเด (Danaidae) เฮลิโคนีเด (Heliconiidae) ลิบีเทเด (Libytheidae) และ แซไทริเด (Satyridae) เป็นต้น
การจำแนกกลุ่มผีเสื้อกลางวันและกลุ่มผีเสื้อกลางคืน
การจำแนกผีเสื้อแบบแยกสองแฉก (dichotomous classification) เป็นกลุ่มผีเสื้อกลางวัน (buttefly) และกลุ่มผีเสื้อกลางคืน (moth) เป็นอีกวิธีในการจำแนกผีเสื้อที่นิยมมากนอกเหนือจากแบบอนุกรมวิธานพืช การจำแนกประเภทเป็นกลุ่มทั้งสองดังกล่าวนั้นกระทำได้โดยการสังเกตลักษณ์จำเพาะของผีเสื้อ
จตุวัฏจักร
การเจริญเติบโตของผีเสื้อแตกต่างจากบรรดาแมลงชนิดอื่นทั้งหลาย โดยปรากฏเป็นจตุวัฏจักร ดังนี้ คือ
1. ระยะไข่ (Egg Stage)
2. ระยะหนอนหรือบุ้ง (Caterpillar Stage หรือ Larva Stage)
3. ระยะดักแด้ (Pupa Stage หรือ Chrysalis Stage)
4. ระยะเจริญวัย (Adult Butterfly Stage หรือ Imago Stage)
อนึ่ง มีความเชื่ออย่างแพร่หลายว่าผีเสื้อมีวงจรชีวิตสั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ผีเสื้อบางพันธุ์อาจมีอายุเพียงหนึ่งสัปดาห์ ในขณะที่บางพันธุ์มีอายุยืนถึงหนึ่งปี โดยส่วนใหญ่จะมีอายุยาวนานในระยะบุ้ง ในขณะที่แมลงชนิดอื่นอาจหยุดการเจริญเติบโตได้ในระยะไข่หรือระยะดักแด้แล้วจึงดำเนินชีวิตต่อไปในฤดูหนาว
ระยะไข่
ไข่ของผีเสื้อมีลักษณะของขนาด รูปร่าง สีสัน และลวดลายแตกต่างกันไป โดยขนาดของไข่นั้นจะเล็กมาก ดังนั้นจำเป็นต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ในการศึกษาไข่ของผีเสื้อ เปลือกไข่ประกอบด้วยสารไคติน ที่เป็นสารชนิดเดียวกับเปลือกลำตัวของผีเสื้อและแมลงชนิดอื่นๆ และเมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศน์จะพบรูเปิดเล็กๆ เรียกว่า ไมโครพายล์ (micropyle) เป็นรูที่ทำให้น้ำเชื้อตัวผู้เข้าไปผสมกับไข่ของตัวเมียได้
ระยะหนอน
ระยะที่คนเราเรียกว่า หนอน มีหลากหลายสี หลังจากตัวหนอนฟักออกจากไข่แล้ว ตัวหนอนมีลักษณะที่แตกต่างกัน อาหารอย่างแรกที่ตัวหนอนกินคือ เปลือกไข่ของตัวเอง หลังจากนั้นตัวหนอนจึงเริ่มกินใบพืช โดยเริ่มที่ใบอ่อนก่อน ซึ่งลักษณะการกินของตัวหนอนจะเริ่มจากขอบใบเข้าหากลางใบ และจะมีการลอกคราบเพื่อขยายขนาด 4-5 ครั้ง โดยตลอดระยะเวลาที่เป็นตัวหนอนนี้ มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น นอกจากขนาดที่ใหญ่ขึ้นแล้ว บางชนิดสีสันและรูปร่างก็แตกต่างกันไปด้วย เช่น หนอนผีเสื้อหางติ่ง หนอนมะนาว ในระยะแรกๆ สีสันก็เหมือนมูลนก แต่เมื่อตัวหนอนโตขึ้นสีสันจะเปลี่ยนไป เป็นสีเขียวมีลวดลายคล้ายตาที่ส่วนอกด้วย เป็นต้น แต่ทั้งหมดมีสิ่งหนึ่งซึ่งทำให้สามารถจำแนกว่าเป็นตัวหนอนผีเสื้อได้คือ ตัวหนอนมีขาจริง 3 คู่ที่ส่วนอก และขาเทียม 4-5 คู่ที่ส่วนท้อง ตัวหนอนทั่วไปมักหากินเดี่ยวๆ แต่ก็มีบางชนิดที
ระยะดักแด้
เมื่อตัวหนอนโตเต็มที่จะต้องมองหาสิ่งที่ที่จะลอกคราบเพื่อเข้าดักแด้ ซึ่งจะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้แต่ภายในเปลือกดักแด้ การพัฒนาต่างๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา เป็นระยะที่มีการสะสมอาหารไว้อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นที่ดึงดูดบรรดาตัวเบียนต่างๆ ตัวหนอนของผีเสื้อแต่ละชนิดจะเลือกที่เข้าดักแด้ต่างกันไป ระยะดักแด้ใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน
ระยะเจริญวัย
ระยะเจริญวัยคือผีเสื้อที่มีสีสันสวยงาม เริ่มต้นนับตั้งแต่ออกจากดักแด้ โดยผีเสื้อใช่ขาดันเปลือกดักแด้ให้ปริแตกออก และผีเสื้อที่มีปีกยับยู่ยี่จะออกมา ในลักษณะห้อยหัวลงพร้อมถ่ายของเสียที่เป็นสีชมพูออกมา ในระยะแรกปีกของผีเสื้อยังไม่สามารถแผ่ได้ จำเป็นต้องมีการปั้มของเหลวเรียกว่า ฮีโมลิมพ์ เข้าไปในเส้นปีก และต้องใช้เวลา 1 ชั่วโมงในการทำให้ปีกแข็งพอที่จะใช้ในการบิน ผีเสื้อสามารถอยู่ได้ 2-3 วัน บางชนิดอยู่ได้ 1-2 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับชนิดและแต่ละช่วงอายุขัย

วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

หาไว้ใส่ซักคู่มั้ย...????? แนวดี




Pavo (genus)


The peafowl genus Pavo Linnaeus, 1758 consist of two species of spectaculary plumaged pheasants, the largest of the Phasianidae. Their highly elongated and elaborated trains are decorated with metallic ocelli; commonly called "tails", they are actually the uppertail coverts while the peacock's tail is much shorter and stiff and helps to prop up the train during display.
In captivity, the two Pavo will hybridise freely.

ความน่ารักที่สัมผัสได้ด้วยสายตา ^__^
























































ทำความรู้จักกับ “วิตามินเอ”

วิตามินเอ คือ สารอาหารที่ละลายได้ในไขมัน และสะสมได้ส่วนใหญ่ที่ตับ หน้าที่สำคัญ คือ การนำไปใช้ในการสร้างเม็ดสีสำหรับการมองเห็นภาพในที่มืด ตาของเราจะต้องการวิตามินเอมาก โดยเฉพาะบริเวณจอรับภาพในตา นอกจากนี้ยังมีความสำคัญต่อการรักษาเยื่อบุในร่างกาย เช่น เยื่อบุตาขาว เยื่อบุทางเดินหายใจ ทางเดินอาหารให้คงสภาพปกติ และช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันเชื้อโรคของร่างกายทำงานได้ดีอีกด้วย

พืชที่มีสารตั้งต้นของวิตามิเอ เบตาแคโรทีน กลุ่มพืชผักผลไม้ สีเหลือง-สีส้ม เช่น แครอต ฟักทอง มะละกอสุก มะม่วงสุก ฯลฯ และผักใบเขียวเข้ม เช่น ผักตำลึง ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม หลักในการบริโภคจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะบริโภคอาหารไขมัน ร่วมไปกับแหล่งอาหารวิตามินเอจากพืชด้วย เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารตั้งต้นของวิตามินเอได้ดีขึ้น และเพื่อให้พอเพียงกับความต้องการของร่างกาย

วิตามินเอ เป็นสารอาหารที่ร่างกายคนเราต้องการ เพื่อการมองเห็นและเพื่อการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยเฉพาะวัยเด็ก นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน โรคติดเชื้อทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร
ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการขาดวิตามินเอ

หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ทารก และเด็กก่อนวัยเรียน ต้องการอาหารที่มีวิตามินเอสูงกว่าคนปกติ โดยเฉพาะในช่วงอายุ 3 ปีแรก ร่างกายต้องการวิตามินเอในปริมาณมาก ส่วนทารกที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือนที่ไม่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยน้ำนมแม่ เนื่องจากนมที่ใช้ทดแทนไม่เหมาะสม มีวิตามินเอไม่เพียงพอ หรือไม่ก็เจือจางเกินไป ทำให้ทารกขาดวิตามินเอ ทั้งนี้โรคท้องร่วงของทารกที่เกิดจากการเตรียมนมทดแทนไม่สะอาด ไม่ถูกต้องตามสัดส่วน ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กขาดวิตามินเอ

การขาดวิตามินเอจะมีความเสี่ยงต่ออาการทางตา เช่น เยื่อบุตาแห้ง เป็นแผลขุ่นเหลว ท้ายสุดตาบอดได้ โดยเฉพาะวัยเด็กอาจจะเสียชีวิตได้ง่ายเมื่อขาดวิตามินเออย่างรุนแรง นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคติดเชื้อสูง ขณะเดียวกันยังก่อให้เกิดปัญหาของการนำธาตุเหล็กไปใช้ด้วย เด็กที่ขาดวิตามินตัวนี้จะทำให้มีการเจริญเติบโตช้าและไม่เจริญอาหาร

การขาดวิตามินเอนั้นคือ ปัญหาทางโภชนาการที่สำคัญของสาธารณสุขโลก เนื่องจาก เป็นสาเหตุให้เด็กนับร้อยคนเสียชีวิตในแต่ละวัน และอีกนับล้านคนทุกข์ทรมานมีสุขภาพไม่แข็งแรง
องค์การอนามัยโลกบอกว่า ปัจจุบันเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 6 ปี กว่า 3 ล้านคน ที่มีอาการทางตา หรือ Xerophthalma ในระดับต่างๆ กัน และเชื่อว่าอย่างน้อยเด็กอีก 230 ล้านคนบริโภคอาหารที่มีวิตามินเอไม่เพียงพอ ทำให้เสี่ยงต่อการขาดวิตามินเอ ซึ่งก็จะมีผลกระทบต่อสุขภาพ การพัฒนาการ และการอยู่รอดของเด็ก คาดว่าการขจัดปัญหานี้จะช่วยชีวิตเด็กได้กว่าล้านคนในแต่ละปี

ประเด็นที่สงสัย คือ การขาดวิตามินเอเป็นปัญหาที่น่าจะป้องกันได้ เพราะอาหารที่มีวิตามินเอสูงหาได้ทั่วไป ทั้งต้นทุนการผลิตก็ไม่สูงนัก

อย่างไรก็ตาม ภาวะการขาดวิตามินเออาจเกิดขึ้นด้วยเหตุที่ว่าไม่ได้บริโภคอาหารที่มีวิตามินเอ เนื่องมาจากอาหารที่มีวิตามินเอมีเฉพาะฤดูกาลหรือราคาสูงเกินกว่าจะซื้อมาบริโภค หรือเด็กไม่ได้รับการฝึกให้รับประทานผักที่มีวิตามินเอกันแน่ อีกกรณีคือ ทารกไม่ได้กินนมแม่ หรือหย่านมแม่ก่อนอายุครบ 4-6 เดือน อาหารที่ไม่ถูกส่วนก็เป็นสาเหตุให้เกิดการขาดวิตามินเอเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบริโภคไขมัน โปรตีน ธาตุสังกะสีในปริมาณน้อย ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการดูดซึม และการนำวิตามินเอมาใช้ในร่างกาย
การเจ็บป่วยก็เป็นสาเหตุสำคัญเช่นกัน อาการท้องร่วงติดต่อกันหลายวันอาจมีสาเหตุจากการดูดซึมวิตามินเอ และไขมันบกพร่อง

ภาวะขาดโปรตีนและพลังงานอย่างรุนแรงก็มีส่วนทำให้การดูดซึมวิตามินเอบกพร่องได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีอาการท้องร่วงร่วมด้วย เด็กที่หายป่วยจากโรคขาดโปรตีนและพลังงานจะมีความต้องการวิตามินเอสูงขึ้น นำไปสู่ภาวะการขาดวิตามินเอได้ คือ โรคหัด โรคติดเชื้อกับระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง โรคพยาธิ นอกจากนี้วิตามินเอที่ร่างกายสะสมไว้จะลดลง เมื่อมีความเครียด การติดเชื้อ ไฟลวก อากาศร้อน อากาศหนาว ดื่มสุรา หรือกินยาคุมกำเนิด

การให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่คนทุกเพศ ทุกวัย ตลอดจนหญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร ซึ่งจำเป็นต่อการดูแลตนเอง ฉะนั้นคุณๆ จึงควรทำความรู้จักกับคุณวิตามินเอเอาไว้ จะได้ไม่ต้องเสียเงินไปซื้อหาวิตามินให้ชีวิตวุ่นวาย

PoR

PoR

i like tinker bell

i like tinker bell