วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

พิพิธภัณฑ์ ตำหนักปลายเนิน




พิพิธภัณฑ์ ตำหนักปลายเนิน ตั้งอยู่บนถนนพระรามที่ 4 กรุงเทพฯ แต่เดิมเป็นพระตำหนักที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงใช้เป็นที่ประทับชั่วคราวในเบื้องแรก ปัจจุบันตำหนักปลายเนินนี้ได้ใช้เป็นสถานที่จัดงานวันนริศฯ โดยมูลนิธิสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ซึ่งจัดเป็นประจำในวันที่ 28 เมษายน ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันประสูติของสมเด็จฯ กรมพระนริศฯ และเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกเข้าชมได้ตามเวลา ราชการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย



ประวัติ

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงโปรดให้ซื้อเรือนไทยอย่างโบราณเพื่อสร้าง ก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2457 เป็นพระตำหนักเพราะมีพระประสงค์จะให้เสร็จโดยเร็วและไม่สิ้นเปลือง เนื่องจากทรงพระประชวรและมีพระดำริ จะมาประทับนอกเมืองเป็นครั้งคราว แต่ท่านมักจะประชวร เมื่อกลับไปประทับ ที่วังท่าพระ เนื่องจากพระองค์จะต้องทรงงาน ประจำที่วังท่าพระ ข้างพระบรมมหาราชวัง จนกระทั่งเข้าช่วงปลายของพระองค์ พระตำหนักนี้จึงเป็นที่ประทับโดยถาวรไป ส่วนวังท่าพระนั้น จะเสด็จไปประทับเฉพาะช่วงหน้าหนาว หรือช่วงที่มีงาน พระราชพิธีเท่านั้น สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงเสด็จประทับ อยู่ ณ วังที่คลองเตยจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ลงในปีพ.ศ. 2490 วังนี้จึงตก แก่ทายาทตระกูลจิตรพงศ์นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ผู้ครอบครอง คือ ม.จ. ดวงจิตร จิตรพงศ์
เมื่อแรกสร้างมุงหลังคาจากทุกหลัง บางหลังฝาทำด้วยแผงไม้ไผ่สานมีไม้ประกับเป็นกรอบค้ำเปิดขึ้นได้ทั้งฝา ต่อมาได้เปลี่ยนใช้กระเบื้องไม้สักมุงหลังคาแทน เพราะจากนั้นต้องเปลี่ยนใหม่ทุก 2 - 3 ปี ส่วนฝาเปลี่ยนเป็นฝาไม้มีหน้าต่างกว้าง เนื่องจากไม่สะดวกใน
ฤดูฝน ซึ่งยุคนั้นไม่มีใครเคยทำ
ปัจจุบันวังปลายเนินยังเป็นที่ประทับ และ อยู่อาศัยของคนในราชสกุลจิตรพงศ์อยู่ โดยมีอาคารอื่นอีก เช่น
ตำหนักตึก ซึ่งเป็นที่ประทับ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ เมือช่วงสุดท้ายของพระชนม์ชีพ
ตำหนักประสบัน เป็นเรือนไม้ยกพื้นสูงทรงยุโรปที่ประทับของ ม.จ.เจริญใจ จิตรพงศ์ ต่อมารื้อลงเป็นเรือน 2ชั้น 2 หลัง
เรือนไม้ริมบ่อ -ศาลาริมน้ำ สมัยที่ยังมีคลองหน้าวัง ปัจจุบันรื้อย้ายมาปลูกกลางสวนเป็นศาลาทรงไทย
ตำหนัก ม.จ.เพลารถ จิตรพงศ์
และ เรือนอื่นๆซึ่งทยอยสร้างขึ้นทีหลัง เช่น บ้านหม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์ เป็นต้น

[แก้] ลักษณะอาคาร
เป็นเรือนไทย 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นใต้ถุนสูงยกพื้นโล่ง มีโครงสรางเสาชั้นล่างเป็นเสาปูน ส่วนตัวเรือนเป็นเรือนไม้ทั้งหมด
หลังคาจั่วปีกนก มุงด้วยกระเบื้องดินเผา เป็นลักษณะของเรือนไทยประเพณีทั้งหลัง มีการวางผังต่างไปจากเรือนไทยโบราณทั่วไป คือยืนตามตะวันทุกหลัง และวางเหลื่อมเยื้องกันเพื่อรับลมและเลี่ยงการรับแดดแทนการวางเรือนล้อมรอบนอกชาน

ไม่มีความคิดเห็น:

PoR

PoR

i like tinker bell

i like tinker bell