วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

พระราชวังพญาไท






พระราชวังพญาไท
ย้อนอดีตไปเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดซื้อที่สวนและนาบริเวณริมคลองสามเสนติดกับทุ่งพญาไท เป็นที่แปรพระราชฐาน เพื่อพักผ่อนพระอิริยาบทและทดลองปลูกธัญพืชต่าง ๆ โดยจัดให้สร้างพระตำหนักขึ้นเป็นที่ประทับ พระราชทานนามว่า "พระตำหนักพญาไท" ต่อมาเมื่อทรงโปรดที่จะเสด็จประพาสพระตำหนักแห่งนี้บ่อยครั้งขึ้นจึงได้พระราชทานนามใหม่เป็น "วังพญาไท" ล่วงมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงโปรดเสด็จมาประทับ ณ วังพญาไท แห่งนี้เป็นครั้งคราว ในกลางปีพุทธศักราช ๒๔๖๓ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักองค์น้อยขึ้นที่ริมคลองพญาไท เป็นเรือนไม้สักสองชั้น พระราชทานนามว่า "พระตำหนักเมขลารูจี" เมื่อได้ดำเนิกการก่อสร้างแล้วเสร็จ ได้มีพระราชพิธีเฉลิมพระที่นั่ง ในวันที่ ๑๖ - ๑๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๖๕ โดยโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "พระราชวังพญาไท" พระราชวังพญาไท เป็นสถาปัตยกรรมแบบยุโรป ประกอบด้วย มวลหมู่พระที่นั่งจำนวน ๕ องค์ ได้แก่่ พระที่นั่งไวกูณฐเทพสถาน, พระที่นั่งพิมานจักรี, พระที่นั่งศรีสุทธวาส, พระที่นั่งเทวราชสภารมย์, พระที่นั่งอุดมวราภรณ์ ในส่วนด้านหลังของมวลหมู่พระที่นั่ง เป็นสวนแบบสถาปัตยกรรมเรอเนาซองเรียกว่า "สวนโรมัน"
ที่พระราชวังพญาไทแห่งนี้เอง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมือง "ดุสิตธานี" เพื่อปูพื้นฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย แก่ประชาชนชาวสยาม ซึ่งได้ย้ายมาจากพระราชวังดุสิต มาก่อตั้งใหม่ให้กว้างขวางขึ้น ตั้งแต่เดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๖๒
ท้าวหิรัญพนาสูร เชื่อว่าเป็นอสูรผู้มีสัมมาทิษฐิ และสัมมาปฏิบัติเป็นชายรูปร่างล่ำสันใหญ่โต คอยติดตามป้องกันภยันตรายทั้งปวงให้กับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มิให้กล้ำกรายพระองค์และข้าราชบริพาร ปีพุทศักราช ๒๔๖๕ ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ช่างหล่อรูปท้าวหิรัญพนาสูรขนาดใหญ่ด้วยทองสัมฤทธิ์เป็นศาลเทพารักษ์ประจำพระราชวังพญาไท
ในปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีพระบรมราโชบายที่จะเปลี่ยนแปลงพระราชวังพญาไทเป็นโรงแรม เพื่อพระราชทานความสะดวกให้กับชาวต่างประเทศที่เข้ามาติดต่อค้าขายขณะที่จะเริ่มดำเนินการดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวรแล้วเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงอัครโยธิน ดำเนินการปรับปรุงเป็นโรงแรมชั้นหนึ่งนามว่า "โฮเต็ลพญาไท" ดำเนินการได้เพียง ๕ ปี จึงเลิกกิจการ ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๓ ได้เปลี่ยนเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียง โดยในพิธีเปิดซึ่งตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคล ได้มีการอัญเชิญกระแสพระราชดำรัสของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๗ ถ่ายทอดเข้าเครื่องส่งที่สถานีพญาไท นับเป็นครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดสดเสียงทางวิทยุในประเทศไทย
ครั้นถึงพุทธศักราช ๒๔๗๕ เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐบาลได้ย้ายสถานีวิทยุกลับไปที่ศาลาแดงและให้กองเสนารักษ์จังหวัดทหารบกกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นสถานพยาบาลกองทัพบกเข้ามาอยู่แทน และได้พัฒนาเป็นโรงพยาบาลทหารบกในเวลาต่อมา เนื่องจากสถานที่แห่งนี้ เคยเป็นพระราชวังของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ มาแต่เดิม และเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติกองทัพบกจึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาติเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า" นับตั้งแต่วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๕ เป็นต้นมา ปีพุทธศักราช ๒๕๑๒ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ได้ย้ายที่ทำการไปอยู่ ณ อาคารหลังใหม่ โดยกรมแพทย์ทหารบกได้เข้ามาตั้งกองบัญชาการอยู่แทน.

ไม่มีความคิดเห็น:

PoR

PoR

i like tinker bell

i like tinker bell